เหรียญรุ่นแรก ลพ.กวย เนื้อฝาบาตร

The first Brass coin amulet series of Luang Por Guay (Thong Fa Bath)

The first Brass coin amulet series of Luang Por Guay had been created after first Alpacca coin amulet series in the same year of 2506 B.E. (1963 A.D.), rounded shape, with 3 cm. diameter and 1.5 mm. thickness.  Most people call this type of coin “Thong Fa Bath”. They had been pressed, stamped and cut by Machine in the same process of Alpacca coin.  Thong Fa Bath metal made by the mix of Zinc and Copper.  The different times of melt process made the coin amulet different in the form of color and metal tone.

The amount of Brass coins believed to have been created are 5000. In fact, the number of coin amulet is less than because no monk created a large number of coins in that time.  Moreover, we can rarely found the first coin amulet of Luang Por Guay in comparison with others created by other master monks. We can found some engraved letter on some coin amulets which made them rare and full of Buddha sacred empower.

 

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม

  นานมากกว่า 50 ปีแล้ว ที่เหรียญรุ่นแรกของพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงกิตติคุณระบือไกลทั่วทั้งลุ่มน้ำภาคกลางได้กำเนิดขึ้นมา  ความเข้มขลังด้วยพุทธานุภาพและมหิทธานุภาพยังทรงความมหัศจรรย์ให้ได้พบเจอเสมอมา จนเป็นที่ยอมรับในเหล่าผู้เคารพนับถือทั่วทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ   มีครบทั้งอำนาจบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์อันแก่กล้าที่ไม่เป็นรองใครในพิภพ  ทรงไว้ซึ่งความเกรียงไกรเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อคนจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีประสบการณ์เล่าขานกันไม่รู้จบนับจากวันแรกจวบจนถึงวันนี้  เป็นอีกหนึ่งตำนานของกายสิทธิ์แห่งยุคหลังกึ่งพุทธกาล  และจะเป็นตำนานเหรียญยอดนิยมของเมืองไทยตลอดไป

 

      เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกวย ชุตินธโร  วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีทั้งเนื้อทองฝาบาตรและเนื้อโลหะอัลปาก้า  สร้างขึ้นโดยโรงหล่อสำนักพุทธประทีป ซึ่งเป็นโรงหล่อพระชื่อดังในยุคนั้น อยู่บริเวณสามแยกไฟฉายฝั่งธนบุรี  โดยหลวงพ่อกวยเป็นผู้เดินทางไปติดต่อสั่งทำด้วยตนเอง พร้อมกับสารวัตรละออง สุขนิลและศิษย์คนอื่นๆเมื่อช่วงปี2506   โดยได้หอบแผ่นยันต์ไปด้วยจำนวน 2 กระสอบปุ๋ย มีทั้งแผ่นฝาบาตรและแผ่นเงินที่ลงยันต์ต่างๆไว้นับพันชิ้น  มีทั้งแผ่นยันต์ที่หลวงพ่อกวยลงเอง  บางอย่างเป็นยันต์ที่หลวงพ่อมุ่ยลงให้ และยังมียันต์ที่พระเกจิอาจารย์ในสายเดียวกันช่วยลงให้อีกจำนวนมาก

 

     จุดหมายแรกที่ไปติดต่อเพื่อสั่งทำเหรียญคือโรงหล่อชื่อดังที่อยู่บริเวณเสาชิงช้า ฝั่งพระนคร แต่โรงงานนี้ไม่ให้แบ่งชำระเงินเป็นงวด และต้องวางเงินค่าจ้างทันทีในวันทำสัญญา ซึ่งขณะนั้นทางวัดโฆสิตารามและหลวงพ่อกวยเอง ยังไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายได้ทันทีตามเงื่อนไข  จึงต้องเปลี่ยนเป้าหมายไปติดต่อที่โรงหล่อสำนักพุทธประทีป ซึ่งเป็นโรงหล่อพระชื่อดังในยุคนั้น ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับกันว่าทำงานดี ทั้งมีเครื่องมือทันสมัย ซึ่งโรงงานนี้ยินยอมให้ทางวัดแบ่งชำระเงินเป็นงวดตามการส่งมอบเหรียญ ซึ่งจะทยอยส่งไปวัดเป็นงวดๆในแต่ละเดือนเช่นกัน จึงตกลงให้โรงหล่อสำนักพุทธประทีปเป็นผู้จัดทำเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกวย

 

    หลวงพ่อกวยมีความตั้งใจแต่แรกที่จะสั่งทำเหรียญรุ่นแรกทั้ง 2 เนื้อคือทั้งเนื้ออัลปาก้าและโลหะผสมหรือเนื้อฝาบาตรในจำนวนที่เท่ากัน   โดยทางโรงงานแจ้งราคาสร้างเหรียญเนื้อฝาบาตรเหรียญละห้าบาท และคิดราคาเหรียญเนื้ออัลปาก้าแพงกว่ากันอีกกว่าสิบเท่าตัว  แต่ด้วยราคาที่แตกต่างกันมากหลายเท่าตัวตามที่โรงงานเสนอมา  ทำให้ท่านตกลงสั่งทำเนื้ออัลปาก้าเพียงเล็กน้อยไม่กี่เหรียญ  ส่วนที่เหลือจึงสั่งทำเป็นเนื้อโลหะผสม(ทองฝาบาตร) เรื่องจำนวนการสั่งทำนั้นไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีทั้งหมดกี่เหรียญ  ซึ่งโรงงานสร้างเหรียญในสมัยก่อนจะทำการปั๊มเนื้อโลหะที่แข็งกว่าเช่นอัลปาก้าก่อนเนื้ออื่นที่แข็งน้อยกว่า   

 

      เมื่อโรงงานที่รับสร้างเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกวย สร้างแม่พิมพ์เสร็จแล้วก็ปั๊มเหรียญอัลปาก้าเป็นชุดแรก แต่เมื่อปั๊มเหรียญได้ไม่มากนัก แม่พิมพ์โลหะได้เกิดชำรุดทั้งด้านขอบเหรียญและรายละเอียดของตัวหนังสือ เพราะเนื้อทองขาวหรืออัลปาก้าสมัยก่อนมีความแข็งมาก ประกอบด้วยการชุบแข็งแม่พิมพ์ยังไม่ทันสมัย จึงสร้างเหรียญเนื้ออัลปาก้าสภาพสมบูรณ์ได้เพียงไม่กี่เหรียญเท่านั้น  เพราะแม่พิมพ์ด้านหน้าชำรุดจนไม่สามารถใช้ปั๊มโลหะได้อีกต่อไป ต้องนำมาแก้ไขให้อยู่ในสภาพใช้งานได้  หลังจากนั้นจึงสร้างเป็นเนื้อโลหะผสมหรือทองฝาบาตรเท่านั้น  และในรอบที่โรงงานส่งมอบเหรียญครั้งต่อๆมา ก็ได้ทดลองปั๊มเหรียญด้วยเนื้อทองแดง ซึ่งโรงงานคิดราคาถูกกว่าเนื้อฝาบาตรที่มีความแข็งมากกว่าและนำมาส่งให้ด้วยแต่คงมีจำนวนไม่มากนัก  ดังที่มีผู้เคยเจอเหรียญเนื้อทองแดงแล้วหลายเหรียญ มีตำหนิและขอบตัดข้างเป็นแบบของแท้ยุคแรกทุกอย่าง 

 

      โดยโรงงานพุทธประทีป ใช้เวลาในการส่งมอบเหรียญรุ่นแรกเนื้อต่างๆให้กับวัดโฆสิตารามนานกว่า 12เดือน จึงครบตามจำนวนที่ตกลงสั่งทำ เพราะโรงงานต้องสร้างให้สัมพันธ์กับยอดเงินที่วัดจะมีจ่ายให้ด้วยเช่นกัน    เฉพาะเนื้ออัลปาก้าที่หลวงพ่อกวยมอบเป็นของตอบแทนพิเศษให้กับเจ้าภาพที่นำผ้าป่ามาทอดกับวัดของท่าน (โดยไม่ทราบจำนวนที่ชัดเจน) บางรายที่ได้รับแล้วก็ขอให้ท่านจารกำกับให้อีกครั้ง และเหรียญเนื้อทองฝาบาตรนั้น ก็ได้นำออกให้คนเช่าบูชาจนหมดเช่นกัน  หลังจากมีผู้นำไปแขวนบูชาติดตัวก็พบเจอเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับตนเองแบบเหลือเชื่อเหนือธรรมชาติวิสัย  เป็นประสบการณ์และความประทับใจที่มีการเล่าสู่ลูกหลานมาจนทุกวันนี้   อาจกล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อกวย จะเป็นอมตะของพุทธานุภาพตราบเท่าที่สังขารท่านยังคงไว้ และจะเป็นพระเครื่องในตำนานแห่งสยามประเทศไปตราบชั่วนิรันดร

 

เหรียญรุ่นแรกที่ลงให้ดูเป็นตัวอย่างไว้หลายมุมนี้ ลงตีพิมพ์ในหนังสือรวมภาพพระเครื่องเล่มมาตรฐานของ ลพ.กวยแทบทุกเล่ม ตั้งแต่เล่มแรกในปี2539 จนถึงเล่มล่าสุดของปี2562

เหรียญรุ่นแรก เนื้อทองฝาบาตร ในสภาพผ่านการใช้บูชามาแล้ว

Share: